การดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson) โรคพาร์กินสันไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ช่วยบรรเทาอาการไม่ให้แย่ลง โดยที่โรคพาร์กินสันจะมีความก้าวหน้าของโรคไปเรื่อย ๆ การรักษาสามารถรักษาด้วยยา และ/หรือ การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึก เพื่อลดอาการสั่น แต่การผ่าตัดอาจมีข้อจำกัดซึ่งอาจไม่สามารถทำได้กับผู้ป่วยทุกราย อาการแสดงของผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกันออกไป ในผู้ป่วยที่มีความก้าวหน้าของโรคดำเนินไป อาการจะดำเนินจากระดับเป็นเล็กน้อยไปจนถึงระดับรุนแรง เช่น จากที่เคยเดินได้กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น ในช่วงที่ระยะแรกของโรคพาร์กินสัน การช่วยบริหารร่างกายจะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง โดยแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีดังนี้
โรคพาร์กินสัน ดีขึ้นได้…หากรักษาได้ทัน เนื่องจากสาเหตุการเกิดโรคทางการแพทย์ยังไม่สามารถทราบชัดเจน แต่มีการสันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ซึ่งเราสามารถหลีกเลี่ยงได้ เพื่อชะลอความเสื่อมของเซลล์สมอง ฉะนั้นเราควรลดปัจจัยเสี่ยงด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การพักผ่อนให้เพียงพอ การผ่อนคลายเครียด หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้สิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ หมั่นสังเกตตนเองหรือคนในครอบครัวว่ามีอาการผิดปกติ หรือไม่ หากไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจมีอาการบางอย่างที่คล้ายโรคพาร์กินสัน แต่อาจจะอันตรายมากกว่าพาร์กินสัน จะได้รักษาแต่เนิ่นๆ โดยการรักษาโรคพาร์กินสันหลักๆมีดังนี้ การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เป็นยาที่ทดแทนหรือปรับสมดุลย์ของสารโดปามีนในสมอง แต่ไม่สามารถทำให้เซลล์สมองที่เสื่อมฟื้นตัวมาได้ ต้องมาพบแพทย์สม่ำเสมอ เพื่อปรับยาให้สอดคล้องกับอาการและกิจวัตรประจำวัน การทำกายภาพบำบัดและการออกกำลังกาย เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย เช่น
แบบทดสอบประเมินความเสี่ยงโรคพาร์กินสัน คุณเคยมีอาการเหล่านี้หรือไม่ มือหรือขาเคยมีอาการสั่น ลุกขึ้นจากเก้าอี้ลำบาก เดินก้าวเท้าสั้นๆ และ เดินซอยเท้าถี่ แขนแกว่งน้อยลงเวลาเดิน หลังคู้งอเวลาเดิน พลิกตัวได้ลำบากเวลานอน เสียงพูดเบาลงกว่าเมื่อก่อน ทำอะไรช้าลงกว่าเดิม เช่น อาบน้ำ แต่งตัว เขียนหนังสือช้าลง และตัวเล็กลงกว่าเดิม “ให้เราช่วยดูแลคนที่คุณรัก Hope Rehabilitation Phuket ศูนย์ฟื้นฟูและรักษาผู้สูงอายุ
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคพาร์กินสัน พาร์กินสัน เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่ง ซึ่งพบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 โรคพาร์กินสัน เป็นการเสื่อมของเซลล์สมองบริเวณแกนสมอง ซึ่งเป็นส่วนที่สร้างสารสื่อประสาทที่เรียกว่า โดปามีน (Dopamine) ซึ่งมีหน้าที่ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อสารเคมีในสมองเสียสมดุลไป จึงทำให้การเคลื่อนไหวผิดปกติ ปัจจัยเสี่ยงของโรคพาร์กินสัน ความชราภาพของสมอง โรคทางพันธุกรรม พบเป็นส่วนน้อย ผู้ที่ใช้ยาทางจิตเวชบางประเภท ผู้ที่มีประวัติอุบัติเหตุทางศีรษะ โรคหลอดเลือดสมอง ผู้สัมผัสยาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าวัชพืช
สัญญาณเตือนเสี่ยงเป็น“โรคพาร์กินสัน” ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน มักจะมีปัญหาการเคลื่อนไหวผิดปกติที่สามารถสังเกตได้ชัดเจนเช่น อาการเคลื่อนไหวช้า อาการมือสั่นขณะที่มืออยู่นิ่ง อาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง และอาการทรงตัวไม่ดี เป็นต้น อย่างไรก็ตามบุคคลปกติที่ยังไม่มีอาการของโรคพาร์กินสันถ้ามีสัญญาณเตือน 6 อาการดังต่อไปนี้ อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคพาร์กินสันในอนาคตได้ ประกอบด้วย มือหรืออวัยวะร่างกายสั่นขณะอยู่นิ่ง เสียงพูดเบาและช้า เดินช้า ก้าวขาสั้น กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง เดินหลังค่อม