ภาษาไทย

How to ? นั่งทำงานอย่างไร ไม่ให้เป็นออฟฟิศซินโดรม


          มนุษย์ออฟฟิศ หรือคนที่ต้องทำงานหน้าจอคอมตลอดเวลา หรือคนที่นั่งดูซีรีส์ ซึ่งบางทีอาจจะนานกว่านั่งทำงาน ต้องเจอกับปัญหาปวดคอ ปวดหลัง แต่จะไม่ให้นั่งหน้าจอคอมนานๆ ก็ทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นมานั่งให้ถูกต้องตามหลัก Ergonomics  ด้วยการให้สรีระในร่างกายอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง จะได้ไม่ปวดหลัง จนลุกลามไปเป็น Office Syndrome

ศีรษะ : มองหน้าจอด้วยหน้าตรง ไม่ก้มหรือแหงนจนเกินไป ควรวางหน้าจอให้อยู่ในระดับสายตา ห่างออกไประมาณ 2.5 ฟุต 

คอ : เมื่อมองหน้าจอแบบหน้าตรงแล้ว คอก็จะตั้งตรงไปเอง ไม่ควรวางหน้าจอให้ต้องนั่งเอียงคอหรือเอี้ยว หัน ไปด้านใดด้านหนึ่ง

หลัง : หลังควรจะมีอะไรซัพพอร์ตอยู่ตลอด โดยเฉพาะหลังส่วนล่าง ดังนั้นถ้าต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน ควรเลือกเก้าอี้ดีๆ ที่เหมาะสำหรับการนั่งทำงานและสามารถปรับระดับได้ การนั่งที่ถูกต้องคือนั่งพิงพนักเก้าอี้ โดยเอนไปด้านหลังเล็กน้อย ไม่แอ่นหรืองอหลัง พร้อมปล่อยช่วงไหลให้ผ่อนคลาย ไม่เกร็ง

แขนและข้อศอก : เมื่อนั่งหลังพิงเก้าอี้แล้ว ให้แนบต้นแขนชิดกับลำตัว วางแขนทำมุม 90 องศากับต้นแขน ถ้ารู้สึกเมื่อยให้วางราบไปกับโต๊ะ หรือที่วางแขนเก้าอี้ได้เลย ส่วนข้อศอกและข้อมือควรอยู่ในระนาบเดียวกัน ขณะพิมพ์ไม่ควรยกข้อมือหรือแขนเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เมื่อยล้า สามารถใช้ที่รองข้อมือมารองขณะพิมพ์หรือจับเมาส์ได้

ขา : บางคนอาจจะติดการนั่งไขว่ห้าง ยกขาขึ้นมา หรือนั่งขัดสมาธิ แต่ถ้านั่งนานๆ นอกจากจะทำให้เมื่อยแล้วยังส่งผลต่อกล้ามเนื้อด้วย การนั่งที่ถูกต้องคือ วางต้นขาแนบไปกับที่นั่ง และปล่อยขาลงไปให้เท้าแนบพื้น 

เข่า : เมื่อเท้าวางราบไปกับพื้นแล้วก็ควรจะให้ข้อพับขาชิดกับที่นั่ง ทำมุม 90 องศา เพื่อให้เข่าอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่ต้องนั่งจนวดขาปวดเข่า

เท้า : วางกับพื้นให้เต็มฝ่าเท้า ถ้าหากเท้าไม่ถึงพื้นให้หาอะไรมารองเท้า หรือปรับเก้าอี้ลง

 

    วิธีอื่นในการลดความเสี่ยงในการเกิดออฟฟิศซินโดรม

  การนั่งที่ถูกวิธีอย่างเดียวอาจไม่พอ เพราะถ้านั่งเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานก็ต้องมีปวดหลัง ปวดตา เมื่อยล้ากันบ้าง ลองใช้วิธีอื่นๆ ดังนี้ ควบคู่กับการนั่งให้ถูกวิธี แล้วจะรู้สึกดีกับการนั่งทำงานขึ้นเยอะ

  • เปลี่ยนอิริยาบถทุก 45-50 นาที ด้วยการลุกไปเข้าห้องน้ำ ไปหยิบขนมกิน หรือเดินไปเม้าท์มอยกับเพื่อนบ้าง
  • พักสายตาจากหน้าจอบ้าง การจ้องหน้าจอนานๆ ทำให้ตาแห้ง ลองกระพริบตาถี่ๆ หรือหลับตาสักพักให้มีน้ำมาหล่อเลี้ยงดวงตา อาจจะมองออกไปในระยะไกลเพื่อพักสายตาก็ได้
  • ยืดเส้นยืดสาย คลายกล้ามเนื้อ นั่งไปนานๆ กล้ามเนื้ออาจเกร็งโดยไม่รู้ตัว ให้ยืดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณคอ แขน ไหล่ ขา 

           “หากท่านมีอาการออฟฟิศซินโดรม ให้ Hope คลินิกกายภาพบำบัด ภูเก็ต คลินิกกายภาพบำบัดครบวงจรช่วยดูแลรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม”

ที่มา brand think, medium

สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม หรือ นัดหมาย ติดต่อ
Hope Rehabilitation and Nursing Home ศูนย์ฟื้นฟูและดูแลผู้สูงอายุ ภูเก็ต
Hope clinic physical therapy คลินิกกายภาพบำบัด ภูเก็ต
     
           โทร : 080-268-8962 (TH) , 080-926-3265 (ENG)
           LINE Official : @Hope.rehab (มี @ ข้างหน้า)
           แผนที่ : 14/11 หมู่ที่ 9 ถ. เจ้าฟ้าตะวันออก ตำบล ฉลอง อำเภอเมืองภูเก็ต ภูเก็ต 83130