อาการของข้อเท้าแพลง
- เจ็บปวดบริเวณข้อเท้าที่แพลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลงน้ำหนักที่เท้าหรือได้รับแรงกด
- ข้อเท้าบวม
- บริเวณข้อเท้าที่แพลงมีรอยช้ำเลือด หรือผิวหนังบริเวณนั้นมีสีที่เปลี่ยนไป
- ข้อเท้าบริเวณที่แพลงเกิดอาการยึดตึงและไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
- ในบางครั้ง ผู้ป่วยอาจได้ยินเสียงเส้นเอ็นพลิกในขณะที่เกิดข้อเท้าแพลง
ข้อเท้าแพลงเกิดจากข้อเท้าพลิกหรือเกิดเหตุที่ทำให้ข้อเท้าอยู่ในท่าผิดไปจากปกติ จนเส้นเอ็นยึดข้อเท้ากับกระดูกขาเกิดการยึดตึง หรือฉีกขาด
ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสให้เกิดข้อเท้าแพลง ได้แก่
- ก้าวพลาด หรือหกล้ม
- ทิ้งตัวลงมาผิดจังหวะจากการกระโดดหรือหมุนตัว
- การวิ่งหรือการก้าวเดินบนพื้นผิวที่ขรุขระ
- การสวมใส่ถุงเท้าหรือรองเท้าที่ไม่พอดีกับเท้า
- การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนจนข้อเท้าแพลงได้ เช่น การเล่นเทนนิส บาสเก็ตบอล ฟุตบอล
- การมีภาวะน้ำหนักตัวเกินหรือมากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุจนข้อเท้าแพลงได้ง่ายยิ่งขึ้น
- เคยประสบอุบัติเหตุ หรือมีอาการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้ามาก่อน
กล้ามเนื้อฉีกขาดคืออาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อเส้นใยที่เชื่อมต่อกล้ามเนื้อกับกระดูก หรือที่เรียกว่าเส้นเอ็น กล้ามเนื้อฉีกขาดเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาดหรือยืดเหยียดมากจนเกินไป กล้ามเนื้อฉีกขาดที่เล็กน้อยมักจะดีขึ้นได้โดยการรักษาตัวที่บ้าน ในขณะที่การรักษากล้ามเนื้อฉีกขาดที่รุนแรงอาจต้องอาศัยยาบางชนิด การทำกายภาพบำบัด หรือการผ่าตัดซ่อมแซม
อาการ
ผู้ที่มีกล้ามเนื้อฉีกขาดอาจพบสัญญาณและอาการที่แตกต่างกันไปตามความรุนแรง เช่น
- กล้ามเนื้อกระตุก
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ปวดหรือแข็งกดเจ็บ
- การเคลื่อนไหวที่จำกัด
- รอยแดงหรือช้ำ
- บวม
สาเหตุ
กล้ามเนื้อฉีกขาดอย่างรุนแรงหรือเรื้อรังมักเกิดจากเหตุการณ์บางอย่าง เช่น การยกของหนักหรือการบาดเจ็บซ้ำ ๆ
ปัจจัยเสี่ยง
ความเสี่ยงของกล้ามเนื้อฉีกขาดจะเพิ่มขึ้นในผู้ที่เล่นกีฬาที่มีการปะทะ เช่น ฟุตบอล ชกมวย และมวยปล้ำ กีฬาประเภทต่างๆอาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อฉีกขาดในบริเวณที่แตกต่างกัน เช่น
- กีฬาที่มีการออกตัวและกระโดดอย่างรวดเร็ว อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ขาและข้อเท้า
- กีฬาที่มีการใช้มือคว้า อาจเพิ่มโอกาสในการบาดเจ็บที่มือ
- กีฬาที่มีการขว้างปา อาจทำให้ข้อศอกได้รับบาดเจ็บ
ACL Injury คืออาการบาดเจ็บหรือฉีกขาดของเอ็นไขว้หน้าของข้อเข่า (Anterior Cruciate Ligament) ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นเอ็นหลักในหัวเข่า โดยมักเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนทิศทาง กระโดด หรือหยุดอย่างกะทันหัน ส่วนมากจะเกิดในขณะเล่นกีฬาอย่างฟุตบอลหรือบาสเกตบอล ทำให้ผู้ป่วยอาจได้ยินเสียงในข้อเข่า มีอาการปวดหรือบวมที่ข้อเข่า
การรักษา ACL Injury อาจแตกต่างกันความความรุนแรงของอาการ ผู้ป่วยอาจพักการใช้งานข้อเข่าและออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของข้อเข่า แต่บางรายอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดและฟื้นฟูร่างกายร่วมด้วย ทั้งนี้ หากปล่อยให้เกิดอาการผิดปกติโดยไม่ทำการรักษาอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในภายหลัง
อาการ ACL Injury
สัญญาณหรืออาการของ ACL Injury ที่อาจพบได้มีดังนี้
- รู้สึกเจ็บปวดบริเวณข้อเข่า โดยอาจมีอาการปวดเข่ามากจนทำให้การลงน้ำหนักหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันลำบากกว่าปกติ แต่บางรายอาจไม่รู้สึกเจ็บปวดหากมีอาการไม่รุนแรง
- หัวเข่าบวม มักเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังได้รับบาดเจ็บ
- การเคลื่อนไหวข้อเข่าทำได้น้อยลง อย่างการยืดหรืองอเข่าอาจทำได้ไม่เต็มที่
- ข้อเข่าอ่อนแรงหรือรู้สึกไม่มั่นคงขณะยืนทรงตัว
- ได้ยินเสียงดังป๊อบในข้อเข่า ซึ่งอาจพบได้ในผู้ป่วยบางราย
อาการของ ACL Injury แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1 เป็นระยะที่เส้นเอ็นได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย และยังไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของข้อเข่า
- ระยะที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อเส้นเอ็นได้รับบาดเจ็บมากขึ้นและทำให้ข้อเข่าเริ่มหลวม เนื่องจากอาจเป็นผลมาจากเส้นเอ็นบางส่วนฉีกขาด
- ระยะที่ 3 เป็นระยะที่ข้อเข่าไม่มั่นคงเนื่องจากเส้นเอ็นฉีกขาดออกจากกันโดยสมบูรณ์
Hope Rehabilitation and Nursing Home ศูนย์ฟื้นฟูและดูแลผู้สูงอายุ ภูเก็ต
LINE Official : @Hope.rehab (มี @ ข้างหน้า)