ภาวะข้อไหล่ติด (Frozen shoulder)
เกิดจากถุงหุ้มข้อไหล่เกิดการอักเสบ การยึดติด และมีสร้างแถบเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดไหล่ และขยับข้อไหล่ได้น้อยลง โดยอาการหลักๆ คือ ไม่สามารถยกแขนได้สุด หากยกแขนจนถึงระดับเกือบเต็มที่จะรู้สึกปวด โดยอาการข้อไหล่ติดจะเกิดทุกทิศทางในการเคลื่อนไหว ทั้งไปข้างหน้า ด้านข้าง หรือข้างหลัง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
สาเหตุของข้อไหล่ติด
-
- การมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบริเวณหัวไหล่มาก่อน
- มีการกระแทกหรือเกิดจากการการอักเสบของกล้ามเนื้อ หรือเอ็นโดยรอบอักเสบ ซึ่งทำให้มีอาการเจ็บหัวไหล่
- ไม่ได้ขยับข้อไหล่เป็นเวลานาน ส่งผลให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ใช้งานแขนข้างนั้นน้อยลง
- การอักเสบทำให้เยื่อหุ้มข้อไหล่หนาตัวขึ้น พิสัยการขยับหัวไหล่ลดลง จึงเกิดอาการติดของหัวไหล่ ขยับไหล่แล้วมีอาการเจ็บ
อาการของข้อไหล่จติด
ผู้ที่มีภาวะข้อไหล่ติดจะมีอาการแสดงต่างกันไปแล้วแต่ระยะของโรค แต่อาการที่มักจะทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ได้แก่ อาการปวดไหล่ในตอนกลางคืน หรือเอื้อมมือไปด้านหลังไม่ได้ รู้สึกปวดบริเวณหัวไหล่ อย่างไรก็ตามอาการที่มาด้วยปวดบริเวณข้อไหล่นั้นสามารถมีสาเหตุมาจากหลายๆโรคได้ ซึ่งต้องตรวจแยกอาการของโรคอื่นๆที่อาจมีอาการแสดงคล้ายคลึงกัน โดยอาการแสดงที่สำคัญของภาวะข้อไหล่ติด นั่นคือจะมีการจำกัดขององศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในหลายๆมุมทั้งขณะที่เราขยับข้อไหล่เองหรือมีคนมาขยับข้อไหล่ให้ก็จะมีการจำกัดของมุมการเคลื่อนไหวทั้งคู่ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยเมื่อขยับแขนแล้วรู้สึกเจ็บ ก็ยิ่งไม่ขยับหัวไหล่ เมื่อไม่ขยับหัวไหล่ก็ยิ่งทำให้ไหล่ติดมากขึ้นหรือไม่สามารถยกแขนทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ
การรักษาโรคข้อไหล่ติด
1. กายภาพบำบัด โดยการดัดหัวไหล่ที่ติดเพื่อเพิ่มพิสัยการขยับให้มากขึ้น เนื่องจากอาการไหล่ติดเกิดจากเยื่อบุข้อไหล่หนาตัวและแข็ง การรักษาจึงต้องค่อยๆ ยืดเพื่อให้เยื่อบุนิ่มลงและยืดหยุ่นขึ้น แนะนำให้ทำกายภาพวันละ 8-10 ครั้ง จะทำให้สามารถขยับหัวไหล่ได้มากขึ้น อาการเจ็บจากไหล่ติดก็จะลดลง
2. ฉีดยาเพื่อลดการอักเสบ เป็นการฉีดยาในกลุ่มยาลดอักเสบหรือกลุ่มสเตียรอยด์เข้าไปในข้อไหล่ เพื่อลดอาการอักเสบของเยื่อบุข้อไหล่ ทำให้การอักเสบลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องให้การกายภาพบำบัดดัดหัวไหล่ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. ให้ยาแก้ปวดและยาลดการอักเสบ สำหรับผู้ป่วยที่รู้สึกเจ็บบริเวณหัวไหล่ แพทย์จะให้ยาแก้ปวดและลดการอักเสบไปรับประทานเพื่อบรรเทา ซึ่งโดยส่วนใหญ่ขั้นตอนข้อที่ 1, 2 และ 3 จะทำไปพร้อมกันในการตรวจดูอาการตั้งแต่ครั้งแรก หลังจากนั้นแพทย์จะนัดเพื่อติดตามอาการเป็นระยะ
4. การผ่าตัด จะเป็นวิธีสุดท้ายที่แพทย์จะเลือกใช้ในการรักษา ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการไหล่ติดอย่างมาก รักษาด้วยวิธีก่อนหน้าแล้วยังไม่ได้ผล จึงจะแนะนำให้การรักษาด้วยการผ่าตัดแบบส่องกล้องเพื่อเลาะตัดเยื่อบุข้อที่หนาและแข็งตัวออก ทำให้ข้อไหล่ขยับได้มากขึ้น และทำการดัดข้อไหล่ได้ง่ายขึ้น
“หากคุณมีอาการของภาวะข้อไหล่ติด ให้ Hope คลินิกกายภาพบำบัด ภูเก็ต คลินิกกายภาพบำบัดครบวงจร โดยบุคลากรทางการแพทย์ช่วยดูแลคุณ”
Hope Rehabilitation and Nursing Home ศูนย์ฟื้นฟูและดูแลผู้สูงอายุ ภูเก็ต
LINE Official : @Hope.rehab (มี @ ข้างหน้า)